ยาพญายอ             

ยาครีม ยาโลชัน สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) ยาโลชัน (รพ.) สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) (รพ.) ยาขี้ผึ้ง (รพ.) ยาทิงเจอร์ (รพ.) 


ตัวยาสำคัญ      

สารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ของใบพญายอแห้ง [Clinacanthus nutans (Burmf.) Lindau] โดยมีปริมาณแตกต่างกันตามรูปแบบยาดังนี้

1. ยาครีม ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (95 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก (w/w)

2. สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (70 เปอร์เซ็นต์)ของพญายอในกลีเซอรีน ร้อยละ 2.- 4 โดยน้ำหนัก (w/w)

3. ยาโลชัน ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (70 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอ ร้อยละ 1.25 โดยน้ำหนัก (w/w)

4. ยาขี้ผึ้ง ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (95 เปอร์เซ็นต์) ของพญายอร้อยละ 45 โดยน้ำหนัก (w/w)

5. ยาทิงเจอร์ ที่มีสารสกัดเอทิลแอลกอฮอล์ (70เปอรล์เซ็นต์) ของพญายอสด ร้อยละ 10 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร (w/v)


ข้อบ่งใช้ 

1. ยาครีม บรเทาอาการของเริมและงูสวัด

2. สารละลาย (สำหรับป้ายปาก) รักษาแผลในปาก (aphthous ulcer) แผลจากการฉายรังสีและเคมีบำบัด

3. ยาโลชัน บรรเทาอาการผดผื่นคัน ลมพิษ ตุ่มคัน

4. ยาขี้ผึ้งบรรเทาอาการอักเสบ ปวด บวมจากแมลงกัดต่อย

5.ยาทิงเจอร์ บรรเทาอาการของเริมและงูสวัด


ขนาดและวิธีใช้   

ทาบริเวณที่มีอาการ วันละ 5 ครั้ง


ข้อห้ามใช้           - 


ข้อควรระวัง       -


อาการไม่พึงประสงค์       -


ข้อมูลเพิ่มเติม      -

location

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

15 ถ.กาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 

email

E-mail

herbal@pharmacy.psu.ac.th

smartphone

0 7428 8830

ในวันและเวลาราชการ