ศูนย์สมุนไพรทักษิณ

ศูนย์สมุนไพรทักษิณ  คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหน่วยงาน ที่ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ศูนย์สมุนไพรทักษิณให้บริการวิชาการด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านสมุนไพร ยาสมุนไพร และยาแผนไทย ตลอดจนประวัติการแพทย์แผนไทย แก่นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ คณะการแพทย์แผนไทย คณะทางวิทยาศาสตร์สุขภาพบุคลากรของมหาวิทยาลัย หน่วยงาน หรือองค์กรด้านการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องตลอดไปจนถึงนักเรียน และ ประชาชนในจังหวัดภาคใต้ที่สนใจทางด้านสมุนไพรโดยจัดแสดงข้อมูลสมุนไพร และข้อมูลความรู้ ที่ห้องจัดแสดงของศูนย์สมุนไพรทักษฺณ ซึ่งตั้งอยู่ที่ อาคาร 1 ชั้น 3 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

Herbals data

ข้อมูลสมุนไพร

คุณสามารถดูข้อมูลของสมุนไพรเพิ่มเติม

Read more

D5F5E62F EE97 430F B562 0F9EEB4B9B7A

ยาแก้ลมแก้เส้น

ยาผง ยาแคปซูล 


สูตรตำรับ

ในยา 714 กรัม ประกอบด้วย

มล็ดพริกไทยล่อน 462 กรัม ต้นหัสคุณเทศ 21 กรัม การบูร 21 กรัม เนื้อลูกสมอเทศ 20 กรัม เนื้อลูกสมอไทย 19 กรัม หัวบุกรอ 18 กรัม รากเจตมูลเพลิง 17 กรัม กัญชา 16 กรัม เหง้าขิงแห้ง 15 กรัม เทียนข้าวเปลือก 14 กรัม เทียนตาตั๊กแตน 13 กรัม เทียนขาว 12 กรัม เทียนแดง 11 กรัม เทียนดำ 10 กรัม โกฐเขมา 9 กรัม โกฐสอ 8 กรัม เหง้าว่านน้ำ 7 กรัม เกลือสินเธาว์ 6 กรัม ดอกดีปลี 5 กรัม ดอกกานพลู 4 กรัม ผลกระวาน 3 กรัม ดอกจันทน์ 2 กรัม ลูกจันทน์ 1 กรัม


ข้อบ่งใช้ / สรรพคุณ

แก้ลมเปลี่ยวดำ เป็นยาเสริมเพื่อฟื้นฟูอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากโรคลมอัมพฤกษ์


ขนาดและวิธีใช้ 

รับประทานครั้งละ 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้าและเย็น

น้ำกระสายยา

- น้ำอ้อยแดง น้ำนมโค ปริมาณครึ่งแก้ว (125 มิลลิลิตร)

- ถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ ให้ใช้น้ำต้มสุกแทน


ข้อห้ามใช้            

ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีไข้ และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี


ข้อควรระวัง  

- ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคความดันเลือดสูง (กรณีที่ไม่สามารถควบคุม ความดันเลือดได้) โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (กรณีที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้) โรคแผลเปื่อยเพปติก โรคกระเพาะอาหารและโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากเป็นตำรับ ยารสร้อน

- ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยสูงอายุ

- ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulants) และ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (antiplatelets)

- ควรระวังการใช้ร่วมกับ phenytoin, propranolol, theophylline และ rifampicin เนื่องจากตำรับนี้มีพริกไทยในปริมาณสูง


อาการไม่พึงประสงค์        

เวียนศีรษะ แสบร้อนกลางอก ปากแห้ง ง่วงนอน คลื่นไส้


ข้อมูลเพิ่มเติม

1. สูตรตำรับจากคัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ เล่ม 2

2. ลมเปลี่ยวดำ เป็นโรคลมชนิดหนึ่ง เกิดจากการกระทบกับความเย็นมากจนเป็นตะคริว ผู้ป่วยมีอาการกล้ามเนื้อเกร็งอย่างรุนแรง กระตุก ทำให้เจ็บปวดบริเวณที่เป็นมาก มักแก้โดยการนวดจุดบริเวณตาตุ่มด้านในหรืออาจรักษาด้วยยาสังขวิไชยหรือยาทำลายพระสุเมรุ (ข้อมูลจากพจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2559 หน้า 472)

location

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

15 ถ.กาญจนวนิช ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 

email

E-mail

herbal@pharmacy.psu.ac.th

smartphone

0 7428 8830

ในวันและเวลาราชการ